Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13014
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดชัยนาท
Other Titles: Extension guidelines of rice seed production of members of community rice center Chainat Province
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร
วิมลลักษณ์ พุ่มพิกุล, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน (2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน (3) ความต้องการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน และ (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน ที่มีการขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว ปี 2563 จำนวน 150 ราย เก็บจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.92 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกข้าว เฉลี่ย 30.46 ปี ประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 7.69 ปี จำนวนพื้นที่ที่ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 25.91 ไร่ รายได้จากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต่อปี เฉลี่ย 172,016.67 บาท รายจ่ายจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต่อปี เฉลี่ย 82,878.66 บาท จำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.01 คน (2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน โดยส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์กข41 อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ เฉลี่ย 21.59 กิโลกรัมต่อไร่ และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง มีการเตรียมพื้นที่ไม่เผาตอซังในแปลงนาและไถดะ 1 ครั้ง โดยปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตม ใส่ปุ๋ยเคมี มีการสำรวจโรคและแมลงศัตรูข้าวในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ทำการตัดพันธุ์ปนในแปลงนา การเก็บเกี่ยวและการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 - 10 วัน (3) เกษตรกรต้องการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้านเมล็ดพันธุ์ (4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการดูแลรักษาเมล็ดพันธุ์และมีข้อเสนอแนะ คือ เจ้าหน้าที่ควรมีการบูรณาการด้านเรียนรู้ในชุมชนและการให้ความรู้เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มากขึ้นอีกทั้งจัดทำแปลงเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าไปศึกษาดูงาน (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพดีและส่งเสริมการกำจัดศัตรูข้าวด้วยสารชีวภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13014
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons