กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13015
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นของบุคลากรองค์การภาครัฐในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use for local career development by government officers in the Upper Northern Provinces 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
ช้องนาง เล็กสมบูรณ์, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุทธินันท์ ชื่นชม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นของบุคลากรองค์การภาครัฐในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นของบุคลากรองค์การภาครัฐในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน และสังกัด 3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นของบุคลากรองค์การภาครัฐในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และ 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นของบุคลากรองค์การภาครัฐในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จำแนกตามเพศระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และสังกัด วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการหน่วยงานภาครัฐที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาอาชีพ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงาน ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน) จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรองค์การภาครัฐส่วนใหญ่มีการใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นโดยรวมในระดับมาก โดยมีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงาน รองลงมามีรูปแบบสารสนเทศโดยใช้สื่อบุคคลด้านการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และมีการใช้แหล่งสารสนเทศบุคคลมากที่สุด ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศพบว่าบุคลากรองค์การภาครัฐที่มีเพศและสังกัดกระทรวงที่แตกต่างกันมีการใช้สารสนเทศต่างกัน ซึ่งพบว่าเพศชายมีการใช้สารสนเทศมากกว่าเพศหญิง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการใช้สารสนเทศน้อยกว่ากระทรวงศึกษาธิการ ส่วนบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการใช้สารสนเทศที่ไม่ต่างกัน 3) ปัญหาการใช้สารสนเทศฯของบุคลากรองค์การภาครัฐ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ แหล่งสารสนเทศภายนอกมีจำนวนไม่มากและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องเป็นสมาชิก 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศฯ พบว่าบุคลากรที่มีเพศและสังกัดกระทรวงที่แตกต่างกันจะมีปัญหาการใช้สารสนเทศต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 ส่วนบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกันจะมีปัญหาการใช้สารสนเทศที่ไม่ต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13015
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons