กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13036
ชื่อเรื่อง: | การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Use and satisfaction of PR media Narathiwat Rajanagarindra University Narathiwat Province of students of Narathiwat Rajanagarindra University. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยฉัตร ล้อมชวการ พงศธร ภูวพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ กมลรัฐ อินทรทัศน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ ความพอใจของผู้ใช้บริการ--ไทย--นราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์--การประชาสัมพันธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา 2) การใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา 3) ความพึงพอใจสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และการใช้ประโยชน์จากสื่อกับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา และ 5) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 366 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา มีการเปิดรับสื่อประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ เฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ ในระดับมากที่สุดเท่ากัน รองลงมาคือ สื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 2) การใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา ในประเด็นเพื่อทราบข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ประเด็นเพื่อนำมาเสริมสร้างความคิดเห็นเดิมให้มากยิ่งขึ้น ได้แก่ ความรักและความภาคภูมิใจในสถาบัน 3) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ เฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ ในระดับมากที่สุดเท่ากัน รองลงมาคือ สื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 4) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่การใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 5) ลักษณะประชากรของนักศึกษา ได้แก่ อายุ สังกัดคณะ สถาบัน วิทยาลัยที่ศึกษา ชั้นปีที่กำลังศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ลักษณะประชากรข้างต้นที่แตกต่างกันของนักศึกษาจะทำให้มีความสนใจในการเลือกเปิดรับสื่อแตกต่างกัน และส่งผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อสื่อที่แตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13036 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2621500566.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น