กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13039
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์โอทอป จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Integrated marketing communications that affect the purchase of OTOP products in Loei Province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
อลิษา ทองกอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--การบูรณาการการสื่อสาร
การสื่อสารทางการตลาด--ไทย--เลย
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 2) ศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และ 3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ซื้อหรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลย จำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยในระดับมากที่สุด โดยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลมากที่สุดได้แก่ บุคลากรผู้ให้บริการและราคา รองลงมาคือกระบวนการให้บริการ และการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ  2) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยในระดับมากที่สุด โดยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลมากที่สุดได้แก่ การสื่อสารแบบปากต่อปาก รองลงมาคือ การประชาสัมพันธ์ และการตลาดเชิงกิจกรรม ตามลำดับ และ 3) อายุและอาชีพของผู้ซื้อหรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอายุ อาชีพ และรายได้ของผู้ซื้อหรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นว่าปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดเลยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13039
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2641500497.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น