Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13048
Title: Communication to Create Public Participation for Driving Community Organization Councils that are Models for Local Self-management Innovation
การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อน สภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
Authors: Akkachai Trakarnsart
อรรฆชัย ตระการศาสตร์
Karn Boonsiri
กานต์ บุญศิริ
Sukhothai Thammathirat Open University
Karn Boonsiri
กานต์ บุญศิริ
[email protected]
[email protected]
Keywords: การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สภาองค์กรชุมชนต้นแบบ นวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
Communication to build participation
Model community organization councils
Local self-management innovation
Issue Date:  9
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study: 1) the process, 2) the management, and 3) the strategies of communication to create public participation for driving community organization councils that are models in local self-management innovation, as well as 4) approaches to develop that communication.                         This research was done using the qualitative research method of in-depth interviews. The 25 key informants were chosen through purposive sampling from among 6 groups of people directly involved with communications at model community organization councils, namely 1) chairmen and board members, 2) council members, 3) community leaders, 4) community organization development institute personnel, 5) academic specialists on communication, and  6) representatives of citizens. The research instrument was a structured in-depth interview form. Data were analyzed by drawing conclusions.   The results showed that 1) The communication process- consisted of (1) brain storming and collaborative thinking at formal and informal meetings to discover problems, research, and make proposals on ways to solve problems; (2) joint decision making to make plans, plan activities, and set budgets for development projects; (3) joining to participate in community activities and to inspect and evaluate work results and progress in efforts to help the local community; and (4) jointly reap the benefits in terms of money, goods, and improved quality of life. 2) Communication management consisted of (1) managing the components of communication, including interpersonal communication between three groups of message senders (government employees, community organization leaders, and ordinary citizens), using easy-to-understand language that matches with the groups of message receivers, via conventional media, such as one-on-one communication, pamphlets, signs, and the public address system, or via social media, like Facebook, Youtube and Line groups; (2) managing communication policies and systems with an emphasis on accuracy, speed, keeping up to date and innovation; and (3) evaluating communication management to make improvements for both internal and external communications. 3) Communication strategies included (1) media use strategies emphasized on using personal media as the core to build knowledge and understanding among the people; (2) content creation strategies focused on making messages easy to understand by communicating in the local dialect; and (3) for message receiver strategies, the message receivers were divided into different age groups- youth, working age people, elders, and sacrificing cooperative network members; combined with the content creation strategies and media selection strategies of using appropriate media for each group, this led to efficient communication. 4) Approaches to developing better communication included    (1) for the communication process, community organization councils should emphasize continuity and communicate on a regular basis, while opening minor forums to wider participation; (2) for communication management, community organization councils should communicate clearly, follow their plans, and build up work teams that are skilled and respected by the communities; (3) for communication strategies, community organization councils should use more aggressive communication strategies along with aggressive membership base expansion strategies, because communication can be used as an important tool to persuade people and can be utilized through every communication medium that people in the community are exposed to.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง 2) การจัดการการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง 3) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง และ 4) แนวทางพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง                        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารของสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ จำนวน  25 คน  จาก 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประธานและกรรมการสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ  2) สมาชิกสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ 3)  ผู้นำชุมชนต้นแบบ 4) เจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 5) นักวิชาการด้านการสื่อสาร และ  6) ตัวแทนภาคประชาชนในสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) การร่วมคิดผ่าน การประชุมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อค้นหาปัญหา นำเสนอวิธีการและแนวทางแก้ปัญหา (2) การร่วมตัดสินใจในการกำหนดแผนงาน กิจกรรมหรืองบประมาณในการพัฒนา (3)  การร่วมดำเนินการในกิจกรรมของชุมชน รวมถึงร่วมตรวจสอบผลงานและความคืบหน้าการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ และ (4) การร่วมรับประโยชน์ทั้งสิ่งของ เงินรางวัลหรือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) การจัดการการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) การจัดการองค์ประกอบการสื่อสาร แบ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ผ่านผู้ส่งสาร 3 กลุ่มคือ ส่วนราชการ ผู้นำองค์กรชุมชนและประชาชนทั่วไป โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงกับกลุ่มผู้รับสาร ด้วยสื่อดั้งเดิม ได้แก่ การสื่อสารแบบตัวต่อตัว  แผ่นพับ ป้ายโฆษณา  หอกระจายข่าว และด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ยูทูบ และไลน์กลุ่ม (2) การจัดการนโยบายและระบบการสื่อสาร โดยยึดความถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และมีการบูรณาการสื่อ (3) การประเมินการจัดการการสื่อสาร เพื่อปรับปรุงการสื่อสารภายในและเครือข่ายภายนอกองค์กร 3) กลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การใช้สื่อ เน้นใช้สื่อบุคคลเพื่อเป็นแกนนำในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน (2) กลยุทธ์การสร้างสาร เน้นเนื้อหาสารที่เข้าใจง่าย ผ่านการสื่อสารด้วยภาษาถิ่น และ (3) กลยุทธ์เกี่ยวกับผู้รับสาร แยกผู้รับสารตามช่วงอายุ ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือที่เสียสละ ทั้งนี้ การแยกผู้รับสารตามช่วงวัยจะกระทำควบคู่กับกลยุทธ์การสร้างสารและกลยุทธ์การใช้สื่อให้เหมาะกับคนแต่ละกลุ่มและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และ 4) แนวทางพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย  (1) ด้านกระบวนการสื่อสาร สภาองค์กรชุมชนควรเน้นการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และเปิดเวทีย่อยให้กว้างขวางขึ้น (2) ด้านการจัดการการสื่อสาร สภาองค์กรชุมชนควรมีการสื่อสารที่ชัดเจนและดำเนินงานตามแผน สร้างทีมทำงานที่มีทักษะและเป็นที่ยอมรับของประชาชน (3) ด้านกลยุทธ์การสื่อสาร สภาองค์กรชุมชนควรใช้กลยุทธ์การสื่อสารเชิงรุก ควบคู่กับการขยายฐานสมาชิกเชิงรุก โดยใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการโน้มน้าวใจประชาชน และบูรณาการผ่านสื่อทุกช่องทางที่ประชาชนในชุมชนใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13048
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4621500372.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.