กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13048
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อน สภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication to create public participation for driving community organization councils that are Models for Local Self-management Innovation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กานต์ บุญศิริ
อรรฆชัย ตระการศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
การสื่อสาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง 2) การจัดการการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง 3) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง และ 4) แนวทางพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบด้านนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง                        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารของสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ จำนวน  25 คน  จาก 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประธานและกรรมการสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ  2) สมาชิกสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ 3)  ผู้นำชุมชนต้นแบบ 4) เจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 5) นักวิชาการด้านการสื่อสาร และ  6) ตัวแทนภาคประชาชนในสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) การร่วมคิดผ่าน การประชุมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อค้นหาปัญหา นำเสนอวิธีการและแนวทางแก้ปัญหา (2) การร่วมตัดสินใจในการกำหนดแผนงาน กิจกรรมหรืองบประมาณในการพัฒนา (3)  การร่วมดำเนินการในกิจกรรมของชุมชน รวมถึงร่วมตรวจสอบผลงานและความคืบหน้าการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ และ (4) การร่วมรับประโยชน์ทั้งสิ่งของ เงินรางวัลหรือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) การจัดการการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) การจัดการองค์ประกอบการสื่อสาร แบ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ผ่านผู้ส่งสาร 3 กลุ่มคือ ส่วนราชการ ผู้นำองค์กรชุมชนและประชาชนทั่วไป โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงกับกลุ่มผู้รับสาร ด้วยสื่อดั้งเดิม ได้แก่ การสื่อสารแบบตัวต่อตัว  แผ่นพับ ป้ายโฆษณา  หอกระจายข่าว และด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ยูทูบ และไลน์กลุ่ม (2) การจัดการนโยบายและระบบการสื่อสาร โดยยึดความถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และมีการบูรณาการสื่อ (3) การประเมินการจัดการการสื่อสาร เพื่อปรับปรุงการสื่อสารภายในและเครือข่ายภายนอกองค์กร 3) กลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การใช้สื่อ เน้นใช้สื่อบุคคลเพื่อเป็นแกนนำในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน (2) กลยุทธ์การสร้างสาร เน้นเนื้อหาสารที่เข้าใจง่าย ผ่านการสื่อสารด้วยภาษาถิ่น และ (3) กลยุทธ์เกี่ยวกับผู้รับสาร แยกผู้รับสารตามช่วงอายุ ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือที่เสียสละ ทั้งนี้ การแยกผู้รับสารตามช่วงวัยจะกระทำควบคู่กับกลยุทธ์การสร้างสารและกลยุทธ์การใช้สื่อให้เหมาะกับคนแต่ละกลุ่มและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และ 4) แนวทางพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย  (1) ด้านกระบวนการสื่อสาร สภาองค์กรชุมชนควรเน้นการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และเปิดเวทีย่อยให้กว้างขวางขึ้น (2) ด้านการจัดการการสื่อสาร สภาองค์กรชุมชนควรมีการสื่อสารที่ชัดเจนและดำเนินงานตามแผน สร้างทีมทำงานที่มีทักษะและเป็นที่ยอมรับของประชาชน (3) ด้านกลยุทธ์การสื่อสาร สภาองค์กรชุมชนควรใช้กลยุทธ์การสื่อสารเชิงรุก ควบคู่กับการขยายฐานสมาชิกเชิงรุก โดยใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการโน้มน้าวใจประชาชน และบูรณาการผ่านสื่อทุกช่องทางที่ประชาชนในชุมชนใช้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13048
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
4621500372.pdf2.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น