กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13052
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรลที่ขับเคลื่อน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management of communication about Trail Running Tourism Driven by Provincial Administrative Organizations |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิทยาธร ท่อแก้ว จุฬารัตน์ จุลภักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สุภาภรณ์ ศรีดี จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ |
คำสำคัญ: | การจัดการการสื่อสาร การสื่อสารการท่องเที่ยว การวิ่งเทรล องค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการการจัดการการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรลที่ขับเคลื่อนโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรลที่ขับเคลื่อนโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรลที่ขับเคลื่อนโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้านการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรลสนามจังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา และจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่ม รวมจำนวน 19 คน ประกอบด้วย 1) ผู้กำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน 2) ผู้จัดการแข่งขัน จำนวน 4 คน 3) ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ จำนวน 8 คน และ 4) นักวิชาการด้านการสื่อสาร จำนวน 2 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการการจัดการการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรล ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการสื่อสารเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการด้าน การสื่อสารในการวิ่งเทรลของเป้าหมาย (2) การวางแผนการสื่อสารโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเครือข่ายร่วมปฏิบัติงานกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกีฬาและการท่องเที่ยว โดยแผนการสื่อสารยึดตามกระบวนการจัดการแข่งขัน คือ การสื่อสารก่อนจัดการแข่งขัน การสื่อสารในวันจัดการแข่งขัน และการสื่อสารหลังจัดการแข่งขัน (3) ดำเนินการสื่อสารผ่านสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างการจดจำ และสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวการวิ่งเทรล และ (4) การประเมินผลการสื่อสารด้านการรับรู้ การจดจำ และการมีส่วนร่วมกิจกรรม 2) กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรล ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) ด้านเครือข่ายร่วมปฏิบัติงาน ทำการสื่อสารโดยร่วมกันปฏิบัติงานภายใต้เป้าหมายเดียวกัน อาศัยการทำงานเป็นทีม โดยร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาการสื่อสาร กำหนดให้ชุมชนในพื้นที่จัดกิจกรรมการวิ่งเทรลมีบทบาทในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ (2) ด้านการปลุกกระแส ทำการสื่อสารโดยกำหนดประเด็นสารบอกวัตถุประสงค์ ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพื่อสร้างการรับรู้ บอกเล่าเรื่องราวเพื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก การลอกเลียนแบบผู้ที่มีชื่อเสียงเพื่อสร้างการอยากร่วมอยากทำ อยากติดตาม (3) ด้านการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ทำการสื่อสารในการสร้างการตระหนักถึงการเป็นเมืองท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับผู้มาเยือน สร้างความประทับใจ ใช้การสื่อสารภาษากาย ถ่ายทอดจากการพูดคุย สื่อสารภาษาใจ ใช้ความจริงใจ สร้างความไว้วางใจ และ (4) ด้านภาพลักษณ์ ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติที่สวยงาม ชูประเด็นวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ผ่านสื่อออนไลน์ที่มีทั้งภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการท่องเที่ยวการวิ่งเทรล ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านกระบวนการสื่อสารต้องยกระดับการทำงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การการท่องเที่ยวการวิ่งเทรล ผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมวิ่งเทรล และถ่ายทอดวิถีชุมชนสู่สาธารณชน การรักษามาตรฐานการแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับในประเทศและรับรองตามมาตรฐานในระดับสากล และการสื่อสารการแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤตจากการจัดกิจกรรม และ (2) ด้านกลยุทธ์ต้องมุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่เกิดจากเครือข่ายร่วมปฏิบัติงาน การปลุกกระแส การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ด้วยการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนที่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหลักในการจัดการการสื่อสาร |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13052 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
4631500396.pdf | 3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น