Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13080
Title: The Effects of Using STEM Education Approach in the Topic of Fluid on Learning Achievement and Creative and Innovative Thinking of Grade 12 Students at Prankratai Pittayakom School in Kamphaeng Phet Province
ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
Authors: SURIYAN JAIKAMTIP
สุริยัน ใจคำติ๊บ
Tweesak Chindanurak
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Tweesak Chindanurak
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
[email protected]
[email protected]
Keywords: การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม  มัธยมศึกษา
STEM Education approach
Learning achievement
Creative and Innovative thinking
Secondary Education
Issue Date:  23
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purposes of this study were to (1) compare learning achievement on the topic of Fluid of grade 12 students learning through the STEM Education approach and that of students learning through the traditional approach; and 2) compare creative and innovative thinking of grade 12 students learning through the STEM Education approach and that of students learning through the traditional approach.                  The research sample consisted of 86 grade 12 students from 2 classrooms of Prankratai Pittayakom school in the first semester of the academic year 2023 obtained by cluster random sampling. The experimental group was assigned to learn through STEM Education learning management, while the control group was assigned to lean through the traditional approach. The employed research instruments were (1) 5 learning management plans for STEM Education on the topic of Fluid for 20 hours; (2) traditional learning management plans on the topic of Fluid; (3) a learning achievement test on the topic of Fluid; and (4) a scale to assess creative and innovative thinking. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test.      The research findings showed that (1) the learning achievement of the students learning through the STEM Education approach was significantly higher than that of the control group at the. 05 level of statistical significance; and (2) The creative and innovative thinking of the students learning through the STEM Education approach was significantly higher than that of the control group at the .05 level of statistical significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ของไหล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กับจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กับจัดการเรียนรู้แบบปกติ                  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 86 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ให้กลุ่มทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และกลุ่มควบคุมใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล จำนวน 5 แผน รวมเวลา 20 ชั่วโมง  (2) แผนการจัดการเรียนรู้ปกติ เรื่อง ของไหล (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ของไหล และ  (4) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ของไหล สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13080
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2612001129.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.