Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13082
Title: The Effects of the Project Based Teaching Method in the Topic of Environmental Crisis in North America and South America on Learning Achievement and Problem-Solving Thinking Ability of Grade 9 Students at Sriyapai School in Chumphon Province
ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร
Authors: NAPADA CHANNAKORN
นภาดา ชาญนคร
Darunee Jumpathong
ดรุณี จำปาทอง
Sukhothai Thammathirat Open University
Darunee Jumpathong
ดรุณี จำปาทอง
[email protected]
[email protected]
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
Project based teaching
Environmental crisis
Learning achievement
Problem-solving thinking ability
Secondary education
Issue Date:  11
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were (1)  to compare learning achievement before and after learning in the topic of environmental crisis in North America and South America of grade 9 students learning by project based teaching method; (2) to compare the learning achievements of grade 9 students learning by project based teaching method with the traditional one; (3) to compare the problem-solving thinking ability of grade 9 students before and after learning by project based teaching method; and (4) to compare the problem-solving thinking ability of grade 9 students learning by project based teaching method with the traditional one. The samples were 69 students of grade 9 in two intact classrooms obtained by cluster random sampling to be an experiment group of 34 students and a control group of 35 students. The research instruments employed were: 1) the lesson plans for project based learning; 2) the lesson plans for traditional learning; 3) the achievement test; and 4) the test on problem-solving thinking ability. The statistics using for data analysis were mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows: 1) the achievement of grade 9 students after learning by project based teaching method was higher than the pre-learning counterpart with statistical significance at .01 level; 2) the achievement of grade 9 students learning by project based teaching method was higher than those of the traditional one with statistical significance at .01 level; 3) the problem-solving thinking ability of grade 9 students after learning by project based teaching method was higher than the pre-learning counterpart with statistical significance at .01 level;  and 4) the problem-solving thinking ability of grade 9 students after learning by project based teaching method was higher than those of the traditional learning with statistical significance at .01 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน กับการเรียนรู้แบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ก่อนและหลังเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานกับการเรียนรู้แบบปกติ                  กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 69 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนจำนวน 34 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนจำนวน 35 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบโครงงาน (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบปกติ (3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ (4) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบโครงงาน คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (3) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบโครงงาน คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13082
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2612100798.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.