Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13087
Title: แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายที่ 1 (ธรรมารักษ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2
Other Titles: guidelines for digital leadership development of school administrators in Thammarak network center 1 under Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์
ปิยะวรรณ เลิศบุรุษ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--นครศรีธรรมราช
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายที่ 1 (ธรรมารักษ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ (2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาดังกล่าว  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 1 (ธรรมารักษ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 140 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มตามสัดส่วนจำนวนครูในแต่ละสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 5 คน ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประธานศูนย์เครือข่ายการศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีประสบการณ์และร่วมรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92  และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรู้ดิจิทัล ด้านความร่วมมือดิจิทัล ด้านการสื่อสารดิจิทัล และด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (2.1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญและสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษา  (2.2) ศูนย์เครือข่ายการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีนโยบายในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาในการเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม และควรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ให้สามารถกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ และ (2.3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองโดยการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของตนเอง และควรสร้างความร่วมมือในสถานศึกษาในการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลไปใช้ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ รวมทั้งวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13087
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2612300646.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.