กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13091
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for Enhancement Teachers’ Work Performance Motivation in the Small Sized Schools under Surat Thani Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
สุธาทิพย์ ทองอ้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน
ครู--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี  เขต 2กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 321 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบสัดส่วน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็กโดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาควร (1) เปิดโอกาสให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา (2) วิเคราะห์สมรรถนะและมอบหมายงานให้ตรงกับสมรรถนะของครูแต่ละคน (3) สนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานอย่างพอเพียงและเหมาะสม (4) จัดระบบประเมินผลการปฏิบัติงานตามสภาพจริง และ (5) ปรับสภาพแวดล้อมในด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13091
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2612301081.pdf3.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น