กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13118
ชื่อเรื่อง: | The Environmental Management for Supporting Learning in the 21st Century in School under Loei Primary Educational Service Area Office 2 การจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | PHIRAPHAN PHIRAPHITCHAYAKUN พีรพันธุ์ พีรพิชญกุล Suttiwan Tuntirojanawong สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Suttiwan Tuntirojanawong สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การจัดการสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ประถมศึกษา Environmental management Learning 21st century Primary education |
วันที่เผยแพร่: | 7 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were 1) to study the level of the environmental management for supporting learning in the 21st century of schools; 2) to compare the environmental management for supporting learning in the 21st century of schools, as classified by school size; and (3) to study the problems and suggestions for the environmental management for supporting learning in the 21st century of schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2. The research sample consisted of 291 teachers under Loei Primary Educational Service Area Office 2, obtained by tables of Krejcie and Morgan and stratified random sampling based on school size. The research instrument was a questionnaire on environmental management for supporting learning in the 21st century of schools with a reliability of .97. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, one-way ANOVA, Fisher's method of pairwise comparison, and content analysis. The results of the research revealed that 1) the overall and each aspect of environmental management for supporting learning in the 21st century of schools were rated at the high level and the specific aspects could be ranked based on their rating means from the highest to the lowest as follows: that of psychosocial, that of teaching and learning, and that of physical; 2) as regarding the comparison of the environmental management for supporting learning in the 21st century of schools, as classified by school size, it was found that they were significantly different at the .05 level, and when comparing pairs, it was found that the small-size schools differ significantly from medium-size schools and large-size schools in every aspect at the .05 level; and 3) problems in environmental management to promote learning in the 21st century of schools found that there was a lack of media, equipment and facilities for learning management, a lack of teachers who were in line with the major, and social media had an influence on students' learning and language use. The recommendations in environmental management to promote learning in the 21st century of schools found that schools should mobilize external resources to support modern media and equipment and technology, encourage teachers to organize active learning activities, create awareness among students about accessing the benefits and disadvantages of social media, and provide opportunities for the community to participate in managing the environment to promote learning of schools. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 291 คนได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) การจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ ดังนี้ ด้านจิตสังคม ด้านการเรียนการสอน และด้านกายภาพ 2) การเปรียบเทียบการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนจำแนกตามขนาดสถานศึกษาพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทำการเปรียบเทียบรายคู่พบว่า สถานศึกษาขนาดเล็กแตกต่างกับขนาดกลางและขนาดใหญ่ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 และ 3) ปัญหาการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน พบว่า ขาดสื่ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ขาดครูผู้สอนตรงตามวิชาเอก และสื่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของผู้เรียน ข้อเสนอแนะควรระดมทรัพยากรภายนอกเข้ามาสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก สร้างความตระหนักแก่ผู้เรียนในการเข้าถึงประโยชน์และโทษของสื่อโซเชียล และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของสถานศึกษา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13118 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2622301212.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น