กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13129
ชื่อเรื่อง: | The Effects of Inquiry Learning Instruction Together with Predict-Observe-Explain Strategy on Learning Achievement and Scientific Explanation Ability of Grade 11 Students at Phadungpanya School in Tak Province ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธีการทำนาย–สังเกต-อธิบาย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงปัญญา จังหวัดตาก |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | NEDSARY PRASERDPOL เนตรทราย ประเสริฐผล Nuanjid Chaowakeratipong นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Nuanjid Chaowakeratipong นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลวิธีการทำนาย-สังเกต-อธิบาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ Inquiry Learning Instruction Predict-Observe-Explain Strategy Learning Achievement Scientific Explanation Ability |
วันที่เผยแพร่: | 4 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The purposes of this research were to 1) compare learning achievement of the students who learned through inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy and the students who learned through traditional instruction, 2) compare the scientific explanation ability of the students who learned through inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy and the students who learned through traditional instruction, and 3) compare the scientific explanation ability of the students before and after learning through inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy.The research sample consisted of 60 grade 11 students from 2 classrooms of Phadungpanya School who studied in the academic year 2023, obtained by cluster random sampling. One classroom was randomly assigned as an experiment group and another classroom was assigned as a control group. The research instruments were 1) 4 lesson plans based on inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy for 20 hours and lesson plans based on traditional instruction, 2) a learning achievement test, and 3) a scientific explanation ability test. The statistics used for data analysis were the mean, standard deviation and t-test.The research findings showed that 1) learning achievement of students who learned through inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy was higher than those of the students who learned through traditional instruction at the .05 level of statistical significance, 2) the scientific explanation ability of students who learned through inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy was higher than those of the students who learned through traditional instruction at the .05 level of statistical significance, and 3) the scientific explanation ability of students who learned through inquiry learning instruction together with predict-observe-explain strategy was higher than their pre-learning counterpart ability at the .05 level of statistical significance. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกับกลวิธีการทำนาย –สังเกต – อธิบาย กับนักเรียนที่เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) เปรียบเทียบการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธีการทำนาย – สังเกต - อธิบาย กับนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธีการทำนาย – สังเกต - อธิบาย ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงปัญญา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน 2ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธีการทำนาย – สังเกต - อธิบาย จำนวน 4 แผน 20 ชั่วโมง และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธี การทำนาย – สังเกต -อธิบาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธี การทำนาย – สังเกต - อธิบาย มีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกกลวิธีการทำนาย – สังเกต - อธิบาย มีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13129 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2632000622.pdf | 2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น