Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13156
Title: | ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 |
Other Titles: | Needs and development guidelines for happy school in schools under Nakhonsritammarat Primary Educational Service Area Office 4 |
Authors: | อรรณพ จีนะวัฒน์ พิมพิไลย์ ชินคล้าย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา--ไทย--นครศรีธรรมราช สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา--ไทย--นครศรีธรรมราช |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 313 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับด้านการบริหารสถานศึกษาและการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข มีค่าความเที่ยง .97 และ .98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่และด้านบุคคล และ (3) แนวทางการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้ (3.1) นำระบบเทคโนโลยี แอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมพัฒนาครูให้มีความรู้ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ (3.2) จัดระบบสายงาน จัดลำดับความสำคัญและประเภทของงานให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การมอบหมายงานที่รวดเร็ว ให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3.3) กำหนดนโยบายขับเคลื่อนสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาปลอดภัย (3.4) กำหนดให้มีระบบการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิตสำหรับครู บุคลากรและนักเรียน (3.5) ให้ขวัญกำลังใจแก่ครู ยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติแก่ครูที่ปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ และ (3.6) กำหนดให้การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นนโยบายที่สำคัญ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13156 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2632300832.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.