Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13156
Title: | The Needs and Development Guidelines for Happy School in Schools under Nakhonsritammarat Primary Educational Service Area Office 4 ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 |
Authors: | PIMPILAI CHINKLAY พิมพิไลย์ ชินคล้าย Annop Jeenawathana อรรณพ จีนะวัฒน์ Sukhothai Thammathirat Open University Annop Jeenawathana อรรณพ จีนะวัฒน์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | ความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนา สถานศึกษาแห่งความสุข ประถมศึกษา Needs Guidelines for development Happy school Primary education |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were (1) to study the present and desirable states of being a happy school of schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4; (2) to study the needs for developing the schools to be a happy school; and (3) to study guidelines for developing the schools to be a happy school.The research sample consisted of 313 teachers in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4 obtained by stratified random sampling based on school size. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table. The key research informants who were interviewed were five educational personnel including the associate director of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4, school directors, and educational supervisors who had experience and were well recognized as experts on school administration and development of school administrators. The employed research instruments were a questionnaire on the present and desirable states of being a happy school, with reliability coefficients of .97 and .98 respectively; and a structured interview form concerning guidelines for developing the school to be a happy school. Data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, PNImodified, and content analysis.The research findings revealed that (1) the overall present state of being a happy school of the schools was rated at the high level, while the overall desirable state of being a happy school of the schools was rated at the highest level; (2) the specific needs for being a happy school of the schools could be ranked from top to bottom based on their need priority indices as follows: the need for the process; the need for the buildings and facilities; and the need for the personnel, respectively; and (3) as for guidelines for developing the schools to be a happy school, the school administrators should take the following actions: (3.1) taking the technological system and various applications to be utilized in order to have benefits on school administration and management, and organizing teacher development activities to enable them to have knowledge and skills in using technology systematically; (3.2) organizing the work line system and prioritizing the importance of tasks and types of tasks clearly that will lead to the speedy work assignments so that the teachers and educational personnel can work efficiently; (3.3) formulating the policy of mobilizing the school to be the school of safety; (3.4) providing the system of caring for physical health and mental health of the teachers, educational personnel and students; (3.5) enhancing the teachers’ morale and will power and praising, glorifying and announcing the honor of the teachers who achieve success in their work performance; and (3.6) determining that the internal supervision in the school is the important policy. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 313 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับด้านการบริหารสถานศึกษาและการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข มีค่าความเที่ยง .97 และ .98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่และด้านบุคคล และ (3) แนวทางการพัฒนาเป็นสถานศึกษาแห่งความสุขของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้ (3.1) นำระบบเทคโนโลยี แอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมพัฒนาครูให้มีความรู้ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ (3.2) จัดระบบสายงาน จัดลำดับความสำคัญและประเภทของงานให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การมอบหมายงานที่รวดเร็ว ให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3.3) กำหนดนโยบายขับเคลื่อนสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาปลอดภัย (3.4) กำหนดให้มีระบบการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิตสำหรับครู บุคลากรและนักเรียน (3.5) ให้ขวัญกำลังใจแก่ครู ยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติแก่ครูที่ปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ และ (3.6) กำหนดให้การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นนโยบายที่สำคัญ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13156 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2632300832.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.