Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13171
Title: | The Effects of the Model-based Learning Instruction in the Topic of Pure Substance on Learning Achievement and Scientific Modeling Ability of Grade 7 Students at Nakorn Khonkaen School in Khonkaen Province ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจําลองเป็นฐาน เรื่อง สารบริสุทธิ์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างแบบจําลอง ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น |
Authors: | SIRINTHA BUSSARAKUM ศิรินทรา บุษราคัม Nuanjid Chaowakeratipong นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Nuanjid Chaowakeratipong นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา Model-based Learning Instruction Learning achievement Scientific Modeling Secondary Education |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The purposes of this research were to 1) compare the learning achievements of grade 7 students who learned through the model-based learning instruction and students who learned through the traditional instruction, 2) compare the scientific modeling ability of grade 7 students who learned through the model-based learning and those of the students who learned through the traditional instruction, and 3) compare the scientific modeling abilities of students before and after learning through the model-based learning instruction.The research sample consisted of 70 grade 7 students from two classrooms of Nakorn Khonkaen School in Khonkaen province who studied in the academic year2023, obtained by cluster random sampling. One class was randomly assigned as an experiment group and another group was assigned as a control group. The research instruments were 1) 5 lesson plans based on the model-based learning instruction and the traditional instruction in the topic of pure substance for 20 hours, 2) a learning achievement test in the topic of pure substance, and 3) a scientific modeling ability test. The statistics used for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test.The research findings showed that 1) the science learning achievement of the students who learned through the model-based learning instruction was higher than those of the students who learned through the traditional instruction at the .05 level of statistical significance, 2) the scientific modeling ability of the students who learned through the model-based learning instruction was higher than those of the students who learned through the traditional instruction at the .05 level of statistical significance, and 3) the scientific modeling ability of the students who learned through the model-based learning instruction was higher than their pre-learning counterpart ability at the .05 level of statistical significance. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครขอนแก่น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน 70 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับสลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สารบริสุทธิ์ จำนวน 5 แผนใช้เวลาเรียน 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารบริสุทธิ์ และ 3) แบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13171 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642000117.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.