Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13195
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
Other Titles: Guidelines for Developing the Administration of Child Development Centers Based on National Standard for Early Childhood Care, Development and Education under the Subdistrict Administrative Organization in Na Thawi District, Songkhla Province
Authors: จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์
สมสวัสดิ์ มาลาทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารโรงเรียน--ไทย--สงขลา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก--ไทย--สงขลา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาประชากร คือ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักวิชาการศึกษา และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จำนวน 70 คน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ (2.1) ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรจัดให้มีการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูล ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตรวจประเมินสุขภาพจิตของครูเป็นประจำทุกปี รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (2.2) ด้านครูให้การดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรประเมินและปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน ฝึกฝนทักษะการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็ก รวมถึงส่งเสริมการปรับตัวของเด็กระหว่างชั้นเรียน (2.3) ด้านการประเมินคุณภาพของเด็กปฐมวัย ควรวางแผนการประเมินเด็กตามมาตรฐาน ให้ความรู้และสนับสนุนเครื่องมือในการประเมินแก่ครูและผู้ปกครอง กำกับติดตามการประเมิน รวมถึงการส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
Description: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13195
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2642300202.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.