กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13202
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between creative leadership of school administrators and work motivation of teachers in schools under Kanchanaburi Office of Learning Encouragement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว
ปรารถนา พุทธศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--กาญจนบุรี
ครู--การจูงใจในการทำงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้บริหาร--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 128 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามประเภทของครู เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2642300541.pdf2.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น