Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13203
Title: | แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 |
Other Titles: | Guidelines for Development of Digital Intelligence of School Administrators under Trang Primary Educational Service Area Office 2 |
Authors: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ อมรรัตน์ พรหมทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--ตรัง การพัฒนาบุคลากร--ไทย--ตรัง |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 292 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ (2.1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการรักษาความปลอดภัยบนโลกดิจิทัลในสถานศึกษาให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความพร้อม ความรู้ ประสบการณ์ และสามารถแนะนำการใช้งานเทคโนโลยีอย่างถูกต้องและมีจริยธรรม และ (2.2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความพร้อมและความรู้ด้านดิจิทัล โดยเข้าอบรมปฏิบัติการเชิงลึกและนำความรู้ที่ได้มากำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติในการควบคุมการใช้งานด้านการบริหารจัดการข้อมูลในโลกดิจิทัล และควรพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดยเข้าอบรมหลักสูตรด้านการรับมือและจัดการกับสถานการณ์การถูกคุกคามบนโลกดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและนำความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการรับมือกับการคุกคามบนโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13203 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642300665.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.