กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13205
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Learning resources management of schools under Phayao Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์
วารุณี สุริยะต๊ะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงเรียนประถมศึกษา--ไทย--พะเยา
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1 และ 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1 จำนวน 242 คน ได้มาโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์รายคู่แบบแอลเอสดีผลการวิจัยปรากฏว่า 1) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ได้แก่ ด้านการประเมินและติดตามการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ และด้านการนำผลการประเมินไปปรับปรุงและแก้ไขการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้  และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้แตกต่างจากสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาขนาดกลางมีการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สูงกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13205
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2642300749.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น