Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13218
Title: | Assessing the Impact of an Educational Policy That Transfers Public Basic Level Schools to be under the Supervision of the Local Administration Organization on Schools’ Educational Resource Readiness Using Propensity Score Analysis Technique การประเมินผลกระทบของนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อความพร้อมด้านทรัพยากรทางการศึกษา ของสถานศึกษาด้วยเทคนิคโพรเพนสิตี้สกอร์ |
Authors: | Kanjanawat Prommaha กาญจนวัฒน์ พรมหา Sungworn Ngudgratoke สังวรณ์ งัดกระโทก Sukhothai Thammathirat Open University Sungworn Ngudgratoke สังวรณ์ งัดกระโทก [email protected] [email protected] |
Keywords: | การประเมินผลกระทบ การถ่ายโอนสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทรัพยากรทางการศึกษา เทคนิคโพรเพนซิตี้สกอร์ Impact Assessment Transfer of Schools Local Administrative Organization Educational Resource Propensity Score Analysis Technique |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The purposes of the research were to 1) examine the educational resource readiness of public basic level schools transferred to be supervised under the Local Administrative Organization and 2) evaluate the impact of the policy on transferring public basic level schools to the Local Administrative Organization on regarding to their educational resource readiness when using propensity score analysis technique. The sample included schools under the Local Administrative Organization transferred from the Office of the Basic Education Commission and non - transferred schools under the Office of the Basic Education Commission; 230 schools from each groups were selected by multi-stage sampling. The research tool was the questionnaire on schools educational resource with content validity indices of 0.86-1.00 and reliability coefficient 0.84. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and propensity score analysis technique.The results showed that 1) educational resource readiness was as follows. (1.1) Teachers were able to organize active learning and STEM education, ready and determined to organize such learning at moderate level. The administrators were able to solve the problem of a shortage of resources and personnel at moderate level. (1.2) The budget for purchasing educational mediums and equitable fund were sufficient. However, external financial support for educational management was insufficient. (1.3) Learning facilities and technological media were insufficient except Wi-Fi signal service points. 2) In overall, when controlling for confounding variables using propensity score, the school transfer policy had a positive impact on educational resource readiness. When considering different types of readiness, it was found that the policy had a positive impact on materials, equipment readiness, but had no impact on personnel and budget readiness. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมด้านทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) ประเมินผลกระทบของนโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อความพร้อมด้านทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยเทคนิคโพรเพนสิตี้สกอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างละ 230 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ความตรงเชิงเนื้อหา .86-1.00 ความเที่ยงของแบบตรวจสอบรายการ 31 ข้อ เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคโพรเพนสิตี้สกอร์ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมด้านทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาที่ถ่ายโอน มีดังนี้ (1.1) ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกและสะเต็มศึกษา พร้อมและมุ่งมั่นจัดการเรียนรู้ดังกล่าวระดับปานกลาง ผู้บริหารสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและบุคลากรได้ระดับปานกลาง (1.2) งบประมาณจัดซื้อสื่อการศึกษาและทุนเสมอภาคมีเพียงพอ แต่เงินสนับสนุนภายนอกเพื่อการจัดการศึกษามีไม่เพียงพอ และ (1.3) สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนและสื่อเทคโนโลยีมีไม่เพียงพอ ยกเว้นจุดให้บริการสัญญาณไวไฟ และ 2) เมื่อควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนโดยปรับแก้ด้วยคะแนนโพรเพนสิตี้แล้วพบว่า นโยบายการถ่ายโอนสถานศึกษา ส่งผลดีต่อความพร้อมด้านทรัพยากรทางการศึกษาโดยรวม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบตามประเภทความพร้อม พบว่า นโยบายส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ แต่ไม่ส่งผลต่อความพร้อมด้านบุคคลและงบประมาณ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13218 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642500595.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.