กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13223
ชื่อเรื่อง: | การบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | School Administration to Strengthen Student Learning in Schools under Sakaeo Primary Educational Service Area Office 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อาจารี คูวัธนไพศาล พรพิมล ศรีพลนอก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ กุลชลี จงเจริญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา--ไทย--สระแก้ว การเรียนรู้แบบเสริมแรง |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน 2) วิธีปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 306 คน โดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน และ 3) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน ข้อมูลเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ และสุขภาวะที่ดีของนักเรียน ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และด้านการเสริมพลังพัฒนาครู 2) วิธีปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน สถานศึกษามีการดำเนินการดังนี้ (1) ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีการมุ่งเน้นการบูรณาการประสบการณ์ของนักเรียนกับชีวิตประจำวัน และใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย (2) ด้านการเสริมพลังพัฒนาครู มีการส่งเสริมให้ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (3) ด้านการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ และสุขภาวะที่ดีของนักเรียน มีการส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เอื้อต่อการเรียนรู้ (4) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา มีการสนับสนุนอุปกรณ์ และเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและ (5) ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มีการจัดตั้งภาคีเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้บริหารและครูควรร่วมกันวางแผน และกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา (2) ด้านการเสริมพลังพัฒนาครู ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการพัฒนาครู และจัดทำแผนการนิเทศภายใน (3) ด้านการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของนักเรียน ผู้บริหารควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะทางสังคมให้กับนักเรียน รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นและการให้คำชม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (4) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา ผู้บริหารควรสนับสนุนการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และ (5) ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ควรเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13223 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2652300027.pdf | 4.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น