Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13224
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้าสถานศึกษากับสมรรถนะตามสายงานของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Relationship between instructional leadership of school heads and functional competencies of teachers in the Child Development Centers under Phetchabun Local Government Organization
Authors: กุลชลี จงเจริญ
เกวลี ดีโส
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--เพชรบูรณ์
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้าสถานศึกษา 2) ระดับสมรรถนะตามสายงานตามการรับรู้ของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้าสถานศึกษากับสมรรถนะตามสายงานตามการรับรู้ของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2567 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 269 คน จากนั้นใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้าสถานศึกษาและสมรรถนะตามสายงานของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้าสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก ด้านการสังเกตและการปรับปรุงการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน และด้านการกำหนดพันธกิจของโรงเรียน ตามลำดับ 2) สมรรถนะตามสายงานของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านการออกแบบการเรียนรู้ ตามลำดับ และ 3) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้าสถานศึกษากับสมรรถนะตามสายงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13224
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2652300050.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.