กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13236
ชื่อเรื่อง: Guidelines for Developing a High-Performance Organization of Schools under Lopburi Primary Educational Service Area Office 2
แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: WIPAVEE SAWANGHA
วิภาวี แสวงหา
Chulalak Sorapan
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Chulalak Sorapan
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนา  ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง  สถานศึกษา ประถมศึกษา
Guideline for development
Being a high-performance organization
School
Primary education
วันที่เผยแพร่:  29
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this study were to 1) investigate the level of a high-performance organization of schools under Lopburi Primary Educational Service Area Office 2; and 2) to study guidelines for developing a high-performance organization of schools under Lopburi Primary Educational Service Area Office 2. The research sample consisted of 388 teachers and school directors from 97 schools under Lopburi Primary Educational Service Area Office 2, obtained by stratified random sampling based on school size and then simple random sampling. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s Sample Size Table. The interview informants were five experts. The employed research tools were a questionnaire on the condition of being a high performance organization of the school, with reliability coefficient of .97, and an interview form concerning the being a high-performance organization of the school. Data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research findings revealed that 1) the overall level of being a high-performance organization of the schools under Lopburi Primary Educational Service Area Office 2 was rated at the high level; the specific aspects of being a high-performance organization of the schools could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: personnel quality, openness and action orientation, focus on long-term goals, continuous improvement, and management quality; and 2) guidelines for developing a high-performance organization of the schools were as follows: (1) the schools should conduct in-depth workshops on management approaches for  administrators, particularly focusing on managing the schools through participatory management and fostering a positive, service-oriented organizational culture; (2) the schools should promote and support their  teachers to use technology and information in order to enhance work efficiency, and encourage them to use knowledge related to  new technologies and innovations; and (3) the schools should develop a strategic plan for human resource management, support and develop their personnel to reach the highest potential in work performance, and cultivate shared organizational values aligned with changing circumstances.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 และ 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ปีการศึกษา  2567  จำนวน 97 แห่งหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษาและใช้การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 388 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณภาพบุคลากร ด้านการเปิดกว้างและเน้นการปฏิบัติ ด้านการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และด้านคุณภาพการบริหารจัดการ และ 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการ ได้แก่  (1) ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในสถานศึกษาให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาควรบริหารสถานศึกษาโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในการให้บริการ (2) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสนับสนุนให้ครูใช้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และ (3) ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษา  สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างสูงสุด และสร้างค่านิยมร่วมกันในองค์กรให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13236
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2652300522.pdf2.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น