กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13245
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for promoting safety operations from the use of human violence in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โสภนา สุดสมบูรณ์ นัทจนันท์ ซ่อนกลิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ความรุนแรงในโรงเรียน--การป้องกัน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา และ 2) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 296 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากนั้นสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดสถานศึกษาแล้วสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่าเกี่ยวกับดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) การดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควร (1) นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าบูรณาการร่วมกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการคัดกรองนักเรียน (2) จัดทำมาตรการหรือแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเน้นตามมาตรการ 3 ป ได้แก่ การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม (3) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในพื้นที่เป็นจุดเสี่ยงพร้อมระบบการติดตามข้อมูลอย่างทันที และ (4) จัดทำความร่วมมือและเผยแพร่ช่องทางการประสานงานด้านข้อมูลจำเป็นในการขอความช่วยเหลือที่ชัดเจนและสามารถเข้าถึงได้ง่าย |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13245 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2652301058.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น