กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13246
ชื่อเรื่อง: Administrative Skills in the 21st Century of School Administrators as Perceived by Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sa Kaeo
ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: SITTINON CHITPHUAN
สิทธินนท์ จิตรพวน
Sopana Sudsomboon
โสภนา สุดสมบูรณ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sopana Sudsomboon
โสภนา สุดสมบูรณ์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: ทักษะการบริหารงาน ศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษา มัธยมศึกษา
Administrative skills
the 21st Century
School administrators
Secondary education
วันที่เผยแพร่:  6
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were: 1) to study the 21st century administrative skills of school administrators perceived by teachers in schools under the secondary educational service area office Sa Kaeo; 2) to compare the administrative skills in the 21st century of school administrators according to school size; and 3) to study guidelines for developing administrative skills in the 21st century of school administrators.                       The research sample consisted of 275 teachers in schools under the secondary educational service area office Sa Kaeo during the academic year 2023, obtained by stratified random sampling. The sample size was determined based on Taro Yamane's formula. The key informants were 6 experts. The employed research instruments were a questionnaire on the 21st century administrative skills of school administrators, with reliability coefficients of .88 and the interview form on guidelines for developing administrative skills in the 21st century of school administrators. The statistics employed for the data analysis were frequency, percentage, mean, deviation standards, One – way ANOVA, and content analysis.                       The research findings were as follows:1) the overall and each aspect of administrative skills in the 21st century of school administrators were at high level; when specific aspects were considered, the specific aspects could be ranked based on their rating means from top to bottom as follows: human relations skills, idea generation skills, technology and digital communication skills, technical skills, and leadership skills; 2) regarding the results of comparison of the administrative skills in the 21st century of school administrators as classified by school size, it was found that administrative skills of school administrators did not differ significantly in both overall and in each aspect; and 3) the guidelines for developing administrative skills in the 21st century for school administrators was found that school administrators should (1) develop themselves to have transformational leadership skills; (2) work with a positive attitude; and (3) behave with morality, using love using love, kindness and reason. Regarding the agency, it should (1) create a systematic plan to develop the management skills of school administrators; (2) survey the needs for self-development of school administrators and provide budgets to promote concrete development; (3) a network of cooperation in school administration should be created and school administrators should be encouraged to exchange knowledge; and; (4) create a method or model for developing the administrative skills of school administrators that emphasizes excellence in all necessary skills.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว  2) เปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว ปีการศึกษา 2566 จำนวน 275 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่จากนั้นทำการสุ่มแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาแล้วสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู  โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ทักษะมนุษย์สัมพันธ์  ทักษะการสร้างความคิด  ทักษะการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะการสื่อสาร  ทักษะเทคนิควิธี  และทักษะการเป็นผู้นำ  2) ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) พัฒนาตนเองให้มีทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (2) ปฏิบัติงานด้วยทัศนคติเชิงบวก และ (3) ประพฤติและปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรมใช้ความรักความเมตตาและความมีเหตุผล สำหรับหน่วยงานต้นสังกัดควร (1) จัดทำแผนพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ (2) สำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาและจัดหางบประมาณเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม (3) ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานสถานศึกษาและส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (4) สร้างวิธีการหรือรูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่เน้นความเลิศในทุกทักษะจำเป็น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13246
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2652301074.pdf3.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น