กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13251
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความสัมพันธ์ในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between self-compassion, family relationship, social support and psychological well-being of older people at Lam Luk Ka District in Pathum Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขอรุณ วงษ์ทิม มนัสณันท์ ตระกูลวงศ์กิตติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้สูงอายุ--สุขภาพจิต--ไทย--ปทุมธานี การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตากรุณาต่อตนเองกับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ในครอบครัวกับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 390 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ 3) ความเมตตากรุณาต่อตัวเอง 4) ความสัมพันธ์ในครอบครัว 5) แรงสนับสนุนทางสังคม โดยมีค่าความเที่ยงแยกตามตัวแปรทั้ง 4 ข้างต้นเป็นดังนี้ ตามลำดับ .71, .72, .79, .77 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า 1) ความเมตตากรุณาต่อตนเองกับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ ในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของผู้สูงอายุกับสุขภาวะทางจิตของผู้สุงอายุ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ 3) แรงสนับสนุนทางสังคม กับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13251 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2652800208.pdf | 980.14 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น