กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13253
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package to develop digital intelligence of Grade 10 Students at Prachuapwittatalai School in Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุรีรัตน์ นิลจันทึก
ศิทชา สังข์แก้ว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การรู้จักใช้เทคโนโลยี
การแนะแนวในการศึกษาขั้นมัธยม--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลกับนักเรียนที่ได้รับการแนะแนวแบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 80 คน ได้มาจากการวัดความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียน 11 ห้องเรียน แล้วเปรียบเทียบจับคู่ห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางดิจิทัลน้อยที่สุด 2 ห้องเรียน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยกิจกรรมแนะแนวจำนวน 10 กิจกรรม (2) การแนะแนวแบบปกติ และ (3) แบบวัดความฉลาดทางดิจิทัล มีค่าความเที่ยงที่ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางดิจิทัลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางดิจิทัลสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13253
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2652800281.pdf3.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น