กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13266
ชื่อเรื่อง: | Human Resource Development of Office of the Permanent Secretary Ministry of Education in Thailand 4.0 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในยุคประเทศไทย 4.0 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | PHARADEE SANGWIJIT ภารดี แสงวิจิตร Phanompatt Smitananda พนมพัทธ์ สมิตานนท์ Sukhothai Thammathirat Open University Phanompatt Smitananda พนมพัทธ์ สมิตานนท์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ Human Resource Development Bureau of General Administration Office of the Permanent Secretary Ministry of Education |
วันที่เผยแพร่: | 20 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this study were: (1) To examine and analyze the needs for human resource development in the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Education (2) To compare the needs for human resource development in the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Education with personnel’s personal factors (3) To propose human resource development suggestions for the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of EducationThis study was a survey research, 120 personnels from all 7 sectors under the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Education were selected as the samples. This study was conducted through survey and interview methods while percentage, arithmetic mean, standard deviation, hypothesis testing, and independent-sample F test were the tools for analyzing the collected data.The results suggested that (1) The personnel in the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Education had the needs for human resource development in each field in orientation: to know how to perform assigned tasks and be proactive, Education: to study the master degree, job training: need a course related to modern management techniques, seminar: aspect to get new ideas for work, teaching: need the supervisor to be the one to teach the job have knowledge and understanding reach the goal and answer the question, mentor: need to have one on one mentor, job observation: to study work related to the position or work in duties and self-learning: supporting or facilitate by developing information of technology systems to be modern. The second is Education. (2) After comparing the human resource development needs of the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Education with personnel’s personal factor (education and age, training programs and educational degree, seminar and working experience), it was suggested that the human resource development needs did not have notable differences. (3) The significant human resource development suggestions for the Bureau of General Administration, Office of the Permanent Secretary Ministry of Education, mainly, were received support from executives and agencies in all aspects. Scholarships should be allocated further; seminars should be organized at least once a year. There should be training to be a mentor. Agencies should provide equipment to promote self-education. การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในยุคประเทศไทย 4.0 (2) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของสำนักอำนวยการสำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ประชากรทั้งหมดของสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 7 กลุ่ม โดยมีข้าราชการพลเรือนของแต่ละกลุ่มงาน จำนวนทั้งหมด 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานการศึกษา ใช้สถิติการทดสอบค่าเอฟผลการศึกษา พบว่า (1) ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาในทุกด้าน โดยมีความเห็นว่า ด้านการปฐมนิเทศ ต้องการทราบวิธีการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและการทำงานเชิงรุก ด้านการศึกษา ต้องการในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านการฝึกอบรม ต้องการหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการบริหารงานสมัยใหม่ ด้านการสัมมนา ต้องการได้รับแนวความคิดใหม่ๆ ในการทำงาน ด้านการสอนงาน ต้องการให้หัวหน้างาน เป็นผู้ทำหน้าที่สอนงาน มีความรู้ความเข้าใจ ถึงจุดหมายในการทำงานและตอบคำถามผู้ฝึกงานได้ ด้านการเป็นพี่เลี้ยง ต้องการมีพี่เลี้ยงแบบหนึ่งคนต่อบุคลากรใหม่หนึ่งคน ด้านการศึกษาดูงาน ต้องการศึกษางาน ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหรืองานในหน้าที่ และด้านการศึกษาด้วยตัวเอง ต้องการให้หน่วยงาน สนับสนุนหรืออำนวยความสะดวก โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความทันสมัยส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร (2) เมื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของข้าราชการ ในสังกัดสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ระหว่างด้านการศึกษากับอายุ ด้านการฝึกอบรม กับวุฒิการศึกษา ด้านการสัมมนากับประสบการณ์ทำงาน พบว่า มีความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่สำคัญ คือควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและหน่วยงานในทุกด้าน โดยเฉพาะควรจัดสรรทุนการศึกษาต่อ ควรจัดสัมมนาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ควรมีการอบรมการเป็นพี่เลี้ยง หน่วยงานควรสนับสนุนอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้วยตนเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13266 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2623001159.pdf | 6.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น