Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13271
Title: | Behavior of Receiving the Application Service Pao Tang, the Winning Project of the Students of Chumphon Vacational College, Chumphon พฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร |
Authors: | PANICHA SAMUTSARUN ปณิชา สมุทรสารันต์ Saowapa Meethawornku เสาวภา มีถาวรกุล Sukhothai Thammathirat Open University Saowapa Meethawornku เสาวภา มีถาวรกุล [email protected] [email protected] |
Keywords: | พฤติกรรมการรับบริการแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ชุมพร Received service behavior Application Service Pao Tang the Winning Project Chumphon |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this study were to study (1) personal factors of respondents; (2) level of importance of marketing mix factors of the application service Pao Tang, the Winning Project toward received service behavior of the Students of Chumphon Vacational College in Chumphon Province; (3) received service behavior of the application service Pao Tang, the Winning Project toward received service behavior of the Students of Chumphon Vacational College in Chumphon Province; (4) the relationship between personal factors and received service factors of the application service Pao Tang, the Winning Project toward received service behavior of the Students of Chumphon Vacational College in Chumphon Province and; and (5) the relationship marketing mix factors and received service behavior of the Students of Chumphon Vacational College in Chumphon Province. This study was a survey research. The population was 623 Chumphon Vocational Certificate students. The samples size was determined by using Taro Yamane’s calculation formula and obtained 250 samples with convenient sampling method. The research instrument for data collection was a questionnaire.Data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics was product-moment correlation by Chi Square Test. The results of the study revealed that (1) mostly of the respondents were female, aged between 18-20 years old, studied in 1st year of Accounting Department of vocational certificate students, monthly family income between 10,001-20,000 Baht; (2) level of importance of marketing mix factors of the application service Pao Tang, the Winning Project was at high level in all aspects such as product, price, promotion and place; (3) received service behavior of the application service Pao Tang, the Winning Project showed types of best buy product was consumer product, which showed 1-2 time (s) frequency of purchasing per week, an average of 101-500 baht per time of purchasing, 3-4 times per month, purchased 2 items a time, would bought on Saturday at 5.00-8.00 p.m. The influential person of purchasing decision was themselves; (4) Personal factors that correlated with received service of behavior of the application service Pao Tang, the Winning Project were gender, age, level of education, department and family’s income at statistically significant at 0.05 level; and (5) Marketing mix factor that correlated with received service of behavior of the application service Pao Tang, the Winning Project found most frequently was received service day at statistically significant at 0.05 level. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดของแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะที่มีต่อพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร (3) พฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จำนวน 623 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ 250 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยการทดสอบไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-20 ปี ศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 แผนกการบัญชี และมีรายได้ครอบครัวอยู่ที่ 10,001-20,000 บาท (2) ระดับความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดของแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ อยู่ในระดับสำคัญมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัดจำหน่าย (3) พฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ประเภทสินค้าและบริการที่ซื้อมากที่สุดคือ สินค้าอุปโภคบริโภค มีความถี่ในการซื้อสินค้า 1-2ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเป็นจำนวนเงินต่อครั้ง 101-500 บาท ความถี่ที่รับบริการโดยเฉลี่ยต่อเดือน 3-4 ครั้ง ปริมาณการใช้บริการครั้งละ 2 รายการ จะซื้อในวันเสาร์ ช่วงเวลา 17.00–20.00 น. และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าคือ ตนเอง (4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ด้านเพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา แผนกวิชาที่ศึกษา และรายได้ของครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (5) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ทางด้านวันที่ซื้อสินค้าและใช้บริการแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ บ่อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13271 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2623003676.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.