กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13271
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior of Receiving the Application Service Pao Tang, the Winning Project of the Students of Chumphon Vacational College, Chumphon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา มีถาวรกุล
ปณิชา สมุทรสารันต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: พฤติกรรมการรับบริการแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ชุมพร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดของแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะที่มีต่อพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร (3) พฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จำนวน 623 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ 250 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยการทดสอบไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-20 ปี ศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 แผนกการบัญชี และมีรายได้ครอบครัวอยู่ที่ 10,001-20,000 บาท (2) ระดับความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดของแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ อยู่ในระดับสำคัญมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัดจำหน่าย (3) พฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ประเภทสินค้าและบริการที่ซื้อมากที่สุดคือ สินค้าอุปโภคบริโภค มีความถี่ในการซื้อสินค้า 1-2ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเป็นจำนวนเงินต่อครั้ง 101-500 บาท ความถี่ที่รับบริการโดยเฉลี่ยต่อเดือน 3-4 ครั้ง ปริมาณการใช้บริการครั้งละ 2 รายการ จะซื้อในวันเสาร์ ช่วงเวลา 17.00–20.00 น. และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าคือ ตนเอง (4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ด้านเพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา แผนกวิชาที่ศึกษา และรายได้ของครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (5) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับบริการ แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ ทางด้านวันที่ซื้อสินค้าและใช้บริการแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โครงการเราชนะ บ่อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (บท.ม. (การจัดการธุรกิจและการบริการ))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13271
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2623003676.pdf1.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น