Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13279
Title: | Factors Influencing Learning Organization of Support Personnel of Faculty of Economics, Kasetsart University ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
Authors: | Suluck Khongkeaw สุลักษณ์ คงแก้ว Kal Pinkesorn กัลย์ ปิ่นเกษร Sukhothai Thammathirat Open University Kal Pinkesorn กัลย์ ปิ่นเกษร [email protected] [email protected] |
Keywords: | รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้ Human Resource Development Models Human Resource Development Factors Learning Organization |
Issue Date: | 5 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to study the opinions of support staff in the School of Economics, Kasetsart University, about different models of human resources development; 2) to study the opinions of support staff in the School of Economics, Kasetsart University, about factors that affect human resources development; 3) to study the opinions of support staff in the School of Economics, Kasetsart University, about the university’s status as a learning organization; and 4) to study how different models of human resources development and related factors influence the opinions of support staff in the School of Economics, Kasetsart University, about the university’s status as a learning organization. This was a mixed methods research. For the quantitative research portion, a questionnaire was used to collect data from a sample population of 93 people who were working as support staff at the School of Economics, Kasetsart University. Quantitative data were analyzed by using the statistical methods of percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. For the qualitative portion, the phenomenology research method was used with semi-structured questions to guide in-depth interviews. The key informants consisted of expert level and special expert level supervisors, expert level human resources officials, and expert level academicians. The quantitative results showed that 1) overall, the majority of the people surveyed had a positive opinion about all the different models of human resources development; 2) the majority of the people surveyed had a positive opinion about all the factors that affect human resources development; 3) overall, the majority of the people surveyed had the most positive opinion about Kasetsart University’s status as a learning organization; and 4)the human resources development models of on-the-job training, seminars, and self development, along with the factors of attention and dedication to work, technological advances, and knowledge transmission methods/techniques all influenced the opinions of support staff in the School of Economics, Kasetsart University, about the university’s status as a learning organization to a statistically significant degree at 0.05 and, taken together, could predict 69.40% of the opinions of support staff in the School of Economics, Kasetsart University, about the university’s status as a learning organization. Results from the qualitative portion of the research were consistent with the results of the quantitative portion, but also revealed that additional components of human resources development models were important, namely, 1) physical and mental health development, and 2) intra-organizational knowledge management; and additional components influenced the support staff’s opinions of the university as a learning organization, namely, 1) continual self development, 2) attitude adjustment, and 3) sacrifice and forbearance. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ (4) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนของ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 93 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ หัวหน้างานระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ และนักวิชาการศึกษาชำนาญการ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า (1) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน ด้านการสัมมนา และด้านการพัฒนาตนเอง และปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และด้านเทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร้อยละ 69.40 ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ แต่มีข้อค้นพบว่า รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีองค์ประกอบเพิ่มเติมจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต และ 2) ด้านการจัดการความรู้ภายในองค์การ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีองค์ประกอบเพิ่มเติมจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2) ด้านการปรับทัศนคติ และ 3) ด้านความเสียสละและอดทน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13279 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2633001306.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.