กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13279
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influencing learning organization of support personnel of faculty of economics, Kasetsart University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กัลย์ ปิ่นเกษร สุลักษณ์ คงแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ (4) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนของ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 93 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ หัวหน้างานระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ และนักวิชาการศึกษาชำนาญการ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า (1) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน ด้านการสัมมนา และด้านการพัฒนาตนเอง และปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และด้านเทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร้อยละ 69.40 ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ แต่มีข้อค้นพบว่า รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีองค์ประกอบเพิ่มเติมจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต และ 2) ด้านการจัดการความรู้ภายในองค์การ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีองค์ประกอบเพิ่มเติมจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2) ด้านการปรับทัศนคติ และ 3) ด้านความเสียสละและอดทน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13279 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2633001306.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น