Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13293
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
Other Titles: | Factors related to the performance effectiveness of Public Servants, Department of Labor Protection and Welfare |
Authors: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย ดวงใจ โสภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ข้าราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (3) แสวงหาแนวทางส่งเสริม ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่มีรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 1,051 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 290 คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน ด้วยการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผล ในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (2) ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อยู่ในระดับมากที่สุด และแนวทางส่งเสริมปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบายส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ของบุคลากร และกำหนดนโยบายการปรับค่าตอบแทนในการทำงานที่เหมาะสม เพื่อเป็นปัจจัยแรงจูงใจให้การทำงานมีประสิทธิผลในอนาคต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13293 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643000157.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.