กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13302
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ของการรับรู้ข่าวสารกับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between information perception and management quality according to the criteria of The Public Sector Management Quality Award at Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา บุญยัง กวีศิลป์ อินต๊ะโคตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การรับรู้ข่าวสาร คุณภาพการบริหาร รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (2) เปรียบเทียบคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ข่าวสารกับคุณภาพการบริหาร ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้มารับบริการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 340 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการสำรวจข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือสถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบสถิติค่าที และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการนำองค์การมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพ การบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง ระยะเวลาในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหาร ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน เพศ สถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่แตกต่างกัน (3) การทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ข่าวสารของผู้มารับบริการกับคุณภาพ การบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในทุกๆ ด้าน มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ ทางบวก อยู่ในระดับสูง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13302 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2643000819.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น