กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13306
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors of human resource development affecting the high performance organization of the bureau of security of the Secretariat of the House of Representatives |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นพพล อัคฮาด ธนภัทร เทวานฤมิตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กรสมรรถนะสูง สำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักรักษา ความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษา ความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (3) เปรียบเทียบการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษา ความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สังกัด ระดับตำแหน่ง ประสบการณ์ การทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (4) วิเคราะห์ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อ การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 130 คนโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.41, S.D.= 0.773), (2) ระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรภาพรวมอยู่ในระดับ (x = 3.52, S.D. = 0.751), (3) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ แตกต่างกันกับระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ ด้านตำแหน่ง ด้านประสบการณ์การทำงาน และด้านรายได้ และ 4) ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาองค์กร (Beta = 0.306) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการพัฒนารายบุคคล (Beta = 0.217) และปัจจัยด้านการพัฒนาสายอาชีพ (Beta = 0.105) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13306 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2643001403.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น