กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13310
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to development of digital completency of the parliamentary police officer of the Secretariat of the House of Representatives
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นพพล อัคฮาด
ณภาสุ เขียววัน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะ สมรรถนะด้านดิจิทัล เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา (2) ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา (3) เปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรกับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 128 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากสูตรการคำนวณ ของเครจซี และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิด แบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) ระดับการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ระดับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (3) การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยด้านเพศที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ส่วนปัจจัยบุคคล ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านอายุราชการ และด้านรายได้ ที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา และ (4) ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา มีค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.000 อยู่ในระดับสูงมาก ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13310
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643001650.pdf1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น