Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13310
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
Other Titles: | Factors relating to development of digital completency of the parliamentary police officer of the Secretariat of the House of Representatives |
Authors: | นพพล อัคฮาด ณภาสุ เขียววัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การพัฒนาสมรรถนะ สมรรถนะด้านดิจิทัล เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา (2) ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา (3) เปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรกับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 128 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากสูตรการคำนวณ ของเครจซี และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิด แบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) ระดับการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ระดับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (3) การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยด้านเพศที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา ส่วนปัจจัยบุคคล ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านอายุราชการ และด้านรายได้ ที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา และ (4) ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา มีค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.000 อยู่ในระดับสูงมาก ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13310 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643001650.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.