กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13314
ชื่อเรื่อง: The Relationship between Human Resource Development Activities and Work Competency: A Case Study of Academic Support Staff at Sukhothai Thammathirat Open University
ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะ การทำงาน กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: WIJITAR MANAWET
วิจิตรา มานะเวช
Supunyada Suntornnond
สุปัญญดา สุนทรนนธ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Supunyada Suntornnond
สุปัญญดา สุนทรนนธ์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: กิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สมรรถนะการทำงาน  บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การพัฒนาบุคลากร
Human resource development activities
Work competency
Academic support staffs
Sukhothai Thammathirat Open University
Personnel development
วันที่เผยแพร่:  22
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This study aims to (1) examine the levels of opinion regarding human resource development activities among academic support staff at Sukhothai Thammathirat Open University. (2) Assess the level of work competency among academic support staffs at Sukhothai Thammathirat Open University. (3) Explore the relationship between human resource development activities and work competency among academic support staffs at Sukhothai Thammathirat Open University. (4) Study and propose guidelines for organizing human resource development activities to enhance work competency among academic support staff at Sukhothai Thammathirat Open University.This research employed a survey methodology. The study population consisted of 503 academic support staff at Sukhothai Thammathirat Open University, who were university employees. A sample zize of 223 participants was determined using Taro Yamane's formula. The research instrument was a questionnaire. Quantitative data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and correlation coefficient analysis.The findings revealed that (1) the perception level of human resource development activities among academic support staffs at Sukhothai Thammathirat Open University was high. (2) The work competency level of academic support staff at Sukhothai Thammathirat Open University was high. (3)There was a moderately positive correlation between human resource development activities and the work competency of academic support staff at Sukhothai Thammathirat Open University. (4) Key recommendations from the study include the organization should develop training programs emphasizing practical skills applicable to routine work, allocate higher education scholarships for academic support staff, offer comprehensive courses covering a wide range of skills and knowledge, assess the knowledge, skills, and interests of staff before organizing development activities, and ensure that executives play a crucial role in defining a clear vision, which fosters employee’s inspiration and commitment to the organization across all staff levels.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาระดับสมรรถนะในการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะการทำงาน ของบุคคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (4) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับสมรรถนะการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชการศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 503 คน กลุ่มตัวอย่าง 223 คน คำนวณด้วยสูตรทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์-สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการรับรู้ต่อกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อยู่ในระดับมาก (2) ระดับสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะการทำงานของบุคคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง (4) ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการค้นคว้า ได้แก่ องค์การควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นทักษะที่ใช้ได้จริงในงานประจำ จัดสรรทุนการศึกษาในระดับสูงให้แก่บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มีหลักสูตรที่ครอบคลุมทักษะและความรู้ที่หลากหลาย สำรวจความรู้ ทักษะและความสนใจของบุคลากรก่อนจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้บริหารควรมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรักและความผูกพันในองค์กรระหว่างบุคลากรทุกระดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13314
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643001825.pdf2.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น