กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13315
ชื่อเรื่อง: Guidelines for Developing Appropriate Operational Competency for Female Parliamentary Police Officer
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: NATNIPA PIAMSOMBUNN
ณัฐนิภา เปี่ยมสมบูรณ์
Noppon Akahat
นพพล อัคฮาด
Sukhothai Thammathirat Open University
Noppon Akahat
นพพล อัคฮาด
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะ สมรรถนะการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรี  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
Competency development
Job performance competencies
Female Parliamentary Police Officer
Secretariat of the House of Representatives
วันที่เผยแพร่:  15
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This study aims to: (1) study the characteristics of suitable job performance competencies of female parliamentary police officer, (2) study the opinions regarding the development of suitable job performance competencies of female parliamentary police officer, and (3) explore challenges, obstacles, and recommendations for improving the competencies of female parliamentary police officer.It employs a mixed research approach as follows: a qualitative research involving key informants divided into 3 groups: commanders, parliamentary police officer, and users, totaling 9 individuals, using semi-structured interviews as a data collection tool. Data analysis is done through a content analysis, grouping relevant text according to the study objectives, and presenting information through narration. And a quantitative research involving a population of 20 female parliamentary police officer, using a questionnaire as a survey tool. Data analysis utilizes statistical methods to find frequencies, means (x̅), and standard deviations (S.D.The study findings reveal that: (1) The characteristics of suitable job performance competencies for parliamentary police officer encompass: 1) core competencies including goal-oriented work performance, excellent service, professional expertise, commitment to justice and ethics, teamwork, and other relevant aspects, 2) specific competencies related to job duties such as process accuracy, investigative skills, proactive actions, and other relevant aspects, 3) knowledge in areas like safety maintenance, laws, regulations, and relevant legislations, 4) skills including computer literacy, English language proficiency, calculation, and data management, and 5) work attitudes including their importance for the job. (2) The overall perception regarding the development of suitable job performance competencies for female parliamentary police officer was highly positive, with an average rating of 4.61, when considering specific aspects, competency related to job duties and work attitudes received the highest average rating at 4.76 and 4.74 respectively, followed by core competencies at 4.66, knowledge at 4.51, and skills at 4.40. And (3) regarding recommendations for developing suitable job performance competencies: 1) the Secretariat of the House of Representatives should allocate duties more appropriately for female parliamentary police officer, enhance training in self-defense, various languages, technology, and prioritize comprehensive competency development for the female parliamentary police officer in all aspects to enhance their effectiveness, 2) the Security Office should regularly review officers' competencies in both theoretical and practical aspects to maximize organizational benefits and consistently foster a service-oriented attitude among the parliamentary police officer.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะของสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรี (2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรี และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรีการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บังคับบัญชา กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา และกลุ่มผู้ใช้งาน รวมจำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีแบบวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกันตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเพศหญิง จำนวนทั้งหมด 20 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา พบว่า (1) คุณลักษณะของสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมสำหรับตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรีประกอบไปด้วย 1) สมรรถนะหลัก ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ด้านบริการที่ดี ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน ด้านการสืบเสาะหาข้อมูล ด้านการดำเนินการเชิงรุก และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) ความรู้ในงาน ได้แก่ ด้านเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและพรบ. ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 4) ทักษะ ได้แก่ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ทักษะการคำนวณและทักษะการจัดการข้อมูล 5) ทัศนคติในงาน ได้แก่ ลักษณะของทัศนคติในงานรูปแบบของทัศนคติที่มีความสำคัญต่องาน (2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรี พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และเมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่า ด้านสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ด้านทัศนคติในงานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 ด้านสมรรถนะหลักอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ด้านความรู้ในงานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และด้านทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรี พบว่า 1) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรควรมีการกำหนดภารกิจหน้าที่ให้เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่รัฐสภาที่เป็นสุภาพสตรีมากยิ่งขึ้น รวมถึงควรมีการพัฒนาและฝึกอบรมในด้านทักษะการป้องกันตัว ทักษะภาษาต่าง ๆ ทักษะด้านเทคโนโลยี และควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาสตรีในทุก ๆ ด้าน เพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) สำนักรักษาความปลอดภัยควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการทบทวนสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด 3) ควรสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการให้บริการ การมีจิตบริการให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาอย่างสม่ำเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13315
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643001882.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น