กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13321
ชื่อเรื่อง: Change Management Behaviors to Support the Digital Organization of Mae Rim District Office, Chiang Mai Province
พฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัล ของสำนักงานอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: CHABAPHRAI WORAKITKHUNAKON
ชบาไพร วรกิจคุณากร
Noppon Akahat
นพพล อัคฮาด
Sukhothai Thammathirat Open University
Noppon Akahat
นพพล อัคฮาด
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: พฤติกรรมองค์การ  การบริหารการเปลี่ยนแปลง  องค์การดิจิทัล  สำนักงานอำเภอ
Organizational Behavior
Change Management
Digital Organization
District Office
วันที่เผยแพร่:  27
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This study aimed to study (1) change management behavior to support the digital organization, (2) problems from changing change management behavior to support the digital organization, and (3) guidelines for developing change management behavior to support the digital organization of Mae Rim District Office, Chiang Mai Province.                        This study was a qualitative research method. The data collection used semi-structured interviews with 26 key informants, selected specifically from executives, practitioners, and stakeholders involved in change management to support the digital organization of Mae Rim District Office, Chiang Mai Province. And the data was analyzed by the content analysis.                        The results of the study showed that : (1) change management behavior to support the digital organization of Mae Rim District Office, Chiang Mai Province from attitude of executives, operators and stakeholders have positively towards the adoption of digital technology in the district office as it increases operational efficiency and makes operational processes and procedures more convenient and faster, in terms of perception, the overall focus is on perceiving benefits rather than perceiving the difficulty of using digital technology, in terms of learning, executives, operators, and stakeholders have different learning behaviors according to their individual authority and responsibilities, (2) The problems from changing behavior to manage change to support the digital organizations of the executives operators and stakeholders face different problems and obstacles. That is not only caused by the digital technology system itself, but also depends on 4 other factors: 1) organizational culture 2) organizational leadership 3) operators and 4) digital technology, and  (3) the guidelines for developing change management behaviors to support the digital organization should focus on supporting and promoting the use of digital technology, clear communication within the organization that is accessible to all users, and the availability of computers both software and hardware systems, as well as other devices related to modern digital technology systems.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัล (2) ปัญหาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัล และ (3) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัลของสำนักงานอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่                  การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 26 ราย ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัลของสำนักงานอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา                  ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัลของสำนักงานอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ด้านทัศนคติ ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างมีทัศนคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในสำนักงานอำเภอ เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทำให้กระบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ด้านการรับรู้ ในภาพรวมได้ให้ความสำคัญต่อการรับรู้ประโยชน์มากกว่าการรับรู้ความยากง่ายในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการเรียนรู้ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล  (2) ปัญหาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัลนั้น ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็ประสบกับปัญหาและอุปสรรคที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะจากตัวระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยในด้านอื่น ๆ อีก 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านวัฒนธรรมองค์การ 2) ด้านผู้นำองค์การ 3) ด้านผู้ปฏิบัติงาน และ 4) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ (3) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเป็นองค์การดิจิทัลควรให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล การสื่อสารภายในองค์การที่ชัดเจนและเข้าถึงผู้ใช้งานทุกคน และความพร้อมของคอมพิวเตอร์ทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และระบบซอฟต์แวร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับระบบเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13321
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643002286.pdf4.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น