กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13322
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting public participation in solid waste management in Municipal Areas in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
อุดร เขาแก้ว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการขยะมูลฝอย เขตเทศบาลจังหวัดชลบุรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล จังหวัดชลบุรี (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล จังหวัดชลบุรี และ (4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล จังหวัดชลบุรีการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 1,725,485 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา  เพื่อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากรสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง (2) เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า มีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และระยะเวลาในการอยู่อาศัย พบว่า ไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยทางสังคมของประชาชน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่ การชักชวนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ การเป็นสมาชิกกลุ่ม ความศรัทธาในตัวผู้บริหาร การได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม พบว่า ประชาชนมีความต้องการให้มีป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะมูลฝอยและแยกประเภทขยะมูลฝอยให้ชัดเจนตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงการปลูกจิตสำนึกของประชาชนและเยาวชนให้รู้จักการจัดการขยะมูลฝอยในครอบครัวของตนเป็นอันดับแรก รวมถึงให้มีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกโดยเทศบาลส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะมูลฝอย และรวมถึงให้มีการจัดอบรมกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยมีวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐเข้ามาให้ความรู้เรื่องขยะมูลฝอย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13322
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643002294.pdf1.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น