Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13333
Title: ประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Effectiveness of the Implementation of the Skill Development Project for Informal Workers in Alignment with Individual Abilities for Employment at Mae Hong Son Skill Development Office
Authors: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
อิงคปรัช นิยมไทย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาอาชีพ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การฝึกอาชีพ
คุณสมบัติทางอาชีพ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการดำเนินการฝึกอบรมกับประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน  (4)  เสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอนการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2567 จำนวน 200 คน กลุ่มตัวอย่าง 134 คน ซึ่งได้จากการคำนวณตามสูตรทาโรยามาเน่  การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยด้านการดำเนินการฝึกอบรมทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคล ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน ในเชิงบวก ที่ระดับมีความสัมพันธ์กันสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ปัจจัยด้านการบริหารทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคล  ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอนในเชิงบวก ที่ระดับมีความสัมพันธ์กันสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแม่ฮ่องสอน มีความคิดเห็นให้มีการจัดโครงการอบรมทุก ๆ ปี ควรให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทันที เพื่อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของผู้เข้าร่วมอบรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13333
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643003656.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.