กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13335
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของบุคลากรกับประสิทธิภาพ การแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between Competency of Personnel and Efficiency of Addressing Complaints of the Governor of Bangkok Secretariat
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พนมพัทธ์ สมิตานนท์
อาทิตย์ เพชราภา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สมรรถนะของบุคลากร ประสิทธิภาพการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับสมรรถนะและระดับประสิทธิภาพการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ของบุคลากรสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับสมรรถนะของบุคลากรกับประสิทธิภาพการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการพัฒนาระดับสมรรถนะบุคลากรสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการ และบุคลากรของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 135 คน โดยเป็นการศึกษาประชากรทั้งหมด และมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ใช้แบบสอบถาม และเลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับประสิทธิภาพการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ที่มีมาถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ปัญหาที่ค้นพบคือบุคลากรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานน้อย กล่าวคือไม่มีความเชื่อมั่นต่อองค์กรที่จะพัฒนาการทำงานอย่างเป็นระบบได้ ในส่วนของข้อเสนอแนะนั้นมีข้อเสนอให้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนและ/หรือทดแทนเจ้าหน้าที่ในการรับเรื่องร้องทุกข์ โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและด้านจิตวิทยา มาร่วมให้คำปรึกษากับผู้ร้องทุกข์
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ร.ม. (บริหารรัฐกิจ))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13335
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643003714.pdf2.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น