กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13371
ชื่อเรื่อง: | Factors Influencing to Get in Process for Promotions of Government Officers in the Department of Disease Control ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการในสังกัดกรมควบคุมโรค |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | NATTHARINEE SAILAMAI ณัฐธารินี ใส่ละม้าย Pavin Chinachoti ภาวิน ชินะโชติ Sukhothai Thammathirat Open University Pavin Chinachoti ภาวิน ชินะโชติ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่อํานาจ และกรมควบคุมโรค Promotion process to get higher positions Achievement motivation factor Relationship motivation factor Power motivation factor Department of Disease Control |
วันที่เผยแพร่: | 6 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This research aimed to study 1) the opinion level on internal factors of government officers in the Department of Disease Control, 2) the opinion levels on environmental factors of government officers in the Department of Disease Control, 3) the decision-making levels to get the promotion process to a higher position of government officers in Department of Disease Control, and 4) the internal factors and environmental factors that influence the decision to get into the higher promotion procedure of government officers in Department of Disease Control. This research is quantitative. The population was 1,357 people working in the main line of academic positions in the Department of Disease Control, and the sample group was 309 people selected by Taro Yamane's random sampling method. The research instrument was a questionnaire. The statistics data analysis included numbers, percentages, means, standard deviations, and multiple regression analysis. The result showed that 1) the overall opinion level of internal factors included the professional attitude factor, achievement motivation factor, relationship motivation factor, and self-development factor. They were at a high level. In Contrast, the power motivation factor had overall opinions at a moderate level. 2) The three environmental factors included the criteria and methods of the promotion process factor, the policies factor, and the supporting of the commander factor. The overall factors were at a high level. 3) The decision-making level of government officers in the Department of Disease Control to get promoted to a higher position. The overall opinion level is at a high level. And 4) the internal factors that influenced the decision-making to get into the promotion procedure to a higher position of government officer in the Department of Disease Control included three factors: achievement motivation factor, power motivation factor, and self-development factor. They were statistically significant at the 0.01 level. Therefore, it can be indicated by 43.4% (R2 = 0.44). On the other hand, the professional attitude factor and relationship motivation factor were not statistically significant at the 0.05 level. Therefore, they did not influence the decision-making to enter the promotion process to a higher position of government officer in the Department of Disease Control. All of the environmental factors were statistically significant at the 0.05 level, indicating that they did not influence the decision-making to get the promotion process to a higher position of government officer in the Department of Disease Control. การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยภายในของข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค 2) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยแวดล้อมของข้าราชการสังกัด กรมควบคุมโรค 3) ระดับการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค และ 4) ปัจจัยภายในและปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรคการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือ ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานหลัก ในสังกัดกรมควบคุมโรค จำนวน 1,357 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มด้วยวิธีของทาโร ยามาเน จำนวน 309 คน ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุ จากผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยภายใน ทั้ง 5 ปัจจัย มีปัจจัยเจตคติต่อวิชาชีพ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ และปัจจัยการพัฒนาตนเอง ที่ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และปัจจัยแรงจูงใจใฝ่อำนาจ มีภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยแวดล้อม ทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของกระบวนการเลื่อนตำแหน่ง นโยบายของกรมควบคุมโรค และการส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ระดับการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค ภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และ 4) ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการในสังกัดกรมควบคุมโรค มี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่อำนาจ และปัจจัยการพัฒนาตนเอง ซึ่งมีนัยทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 43.4 (R2 = 0.44) ส่วนปัจจัยภายในอีก 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยเจตคติต่อวิชาชีพ และปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค และปัจจัยแวดล้อม ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่มีปัจจัยใดที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการสังกัดกรมควบคุมโรค |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13371 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2653001657.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น