กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13381
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ ในสังกัดสำนักงานอัยการ ภาค 7
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factor Affecting the Working Efficiency of Government Administrative Officers in the Office of Public Prosecution, Region 7
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤบดี วรรธนาคม
ชินีนาถ หมายเหนี่ยง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 (2) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 (3) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 (4) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 (5) อิทธิพลของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่าข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 (1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 27 - 44 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีตำแหน่งงานเป็นนักจัดการงานทั่วไปและนิติกร และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี (2) มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านความสำเร็จของงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยค้ำจุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความมั่นคงในการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (3) มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณภาพงานและด้านค่าใช้จ่ายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (4) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ พบว่า ด้านระดับการศึกษามีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะงาน และปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 ได้ร้อยละ 71.80
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2653001848.pdf1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น