Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13388
Title: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณของผู้บริโภคที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Marketing Mix Factors Affecting Consumer Purchasing Decision for Homsuwan Pineapple in Muang District, Prachuap Khiri Khan Province
Authors: นฤบดี วรรธนาคม
นงค์ลักษณ์ อิทธิโรจนเสถียร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อสับปะรด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาด้านปัจจัยประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของสับปะรดหอมสุวรรณของผู้บริโภคที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณของผู้บริโภคที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณของผู้บริโภคที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และ 5) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณของผู้บริโภคที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประชากรที่ศึกษาคือผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยมีจำนวน 400 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 40 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท สถานภาพสมรส 2) ส่วนประสมทางการตลาดพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก วิเคราะห์รายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุดคือผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ 3) การตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณระดับความคิดเห็นมีการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและสถานภาพแตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 5) ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์และราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสับปะรดหอมสุวรรณที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13388
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2653001996.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.