กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13398
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Quality of Working Life Affecting Efficiency Performance of Administrative Officers at Office of the Attorney General in the Area of Region 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ กิตติยา รุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิตการทำงาน ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ข้าราชการธุรการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 2 (2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 2 (3) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 2 และ (4) วิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 2การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่ภาค 2 จำนวน 362 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจากตารางสำเร็จรูป เครจซีและมอร์แกน จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการธุรการโดยรวมอยู่ที่ระดับมาก (2) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก (3) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ สถานภาพ อายุราชการ ที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยคุณภาพชีวิต ด้านสภาพการทำงานมีความปลอดภัยและมีการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตโดยรวม ด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 55.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13398 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2653002242.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น