Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13411
Title: การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
Other Titles: Knowledge management affecting the work efficiency of procurement officers in the office of the Attorney General
Authors: สุรเดช หวังทอง
วราภรณ์ ครสิงห์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การจัดการความรู้ ประสิทธิภาพการทำงาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด (3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด (4) การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด               การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดจำนวนทั้งสิ้น 141 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยอ้างอิงจากตารางสำเร็จรูปของ เครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 103 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน ตามตำแหน่งบุคลากร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์         การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเนื้อหา               ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด และ (4) การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การสร้างและแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ สามารถทำนายการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ร้อยละ 65.8
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13411
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2653003075.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.