กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13422
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems related to the submission of assets and liabilities under the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
มุทิตา แมนเมตตกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบัญชีสินทรัพย์
หนี้สิน (การบัญชี)
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา แนวคิด ความเป็นมาและความสำคัญของการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของประเทศไทย (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินตามกฎหมายของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการขอแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินตามกฎหมายของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส แล้วนำมาวิเคราะห์ หาคำตอบและข้อเสนอแนะ ที่เหมาะสมผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี การใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจที่สำคัญในการป้องกันการทุจริต (2) การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของประเทศไทย เปรียบเทียบกับของต่างประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งได้ให้ความสำคัญ เช่น เดียวกันกับของประเทศไทย แต่อาจมีรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบและบทลงโทษที่แตกต่างกัน (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ยังมีช่องว่างของกฎหมาย ไม่สามารถบังคับใช้กับผู้ที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ครอบคลุมในบางกรณี เช่น กรณีปัญหาความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการยื่นบัญชีกรณีคู่สมรสว่าควรรวมไปถึงผู้ที่อยู่กินกันฉันสามีภริยาเพศเดียวกัน บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กรณีปัญหาการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีปัญหากำหนดความผิดและโทษสำหรับผู้ถือทรัพย์สินแทนผู้ยื่น กรณีปัญหาการแสดงมูลค่าของทรัพย์สิน และกรณีปัญหาเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินและหนี้สิน (4) ควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในส่วนของการตรวจสอบทรัพย์สิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13422
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2584003061.pdf1.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น